สาระสำคัญ

Thursday, June 25, 2015

PIANGDIN ACADEMY: ย้อนรอย "รัฐประหาร" ในประวัติศาสตร์ไทย





ย้อนรอยรัฐประหารในประวัติศาสตร์ไทย

การรัฐประหาร คืออะไร?

หมายถึง การล้มล้างรัฐบาลผู้บริหารปกครองรัฐในขณะนั้น แต่มิใช่การล้มล้างระบอบการปกครองหรือทั้งรัฐ และไม่จำเป็นต้องใช้ความรุนแรง หรือเกิดเหตุนองเลือดเสมอไป

เช่นหากกลุ่มทหารอ้างว่า รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง บริหารประเทศชาติผิดพลาด และจำเป็นต้องบังคับให้รัฐบาลพ้นจากอำนาจ จึงใช้กำลังบังคับให้ออกจากตำแหน่ง โดยประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ หรือประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ ภายในเวลาที่กำหนด ลักษณะนี้ก็เรียกได้ว่า เป็นการก่อรัฐประหาร โดยในวิชาการพัฒนาการเมือง?ซึ่งเป็นสาขาวิชาทางรัฐศาสตร์?จะถือว่าการรัฐประหาร มิใช่วิธีทางของวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย?และถือเป็นความเสื่อมทางการเมือง (political decay) แบบหนึ่ง ทั้งนี้ หากความพยายามในการก่อรัฐประหาร ไม่ประสบความสำเร็จ ผู้ก่อการมักถูกดำเนินคดีในข้อหากบฏ
ย้อนรอยรัฐประหารในประวัติศาสตร์ไทย

ย้อนรอยรัฐประหารในประวัติศาสตร์ไทย
ย้อนรอยรัฐประหารในประวัติศาสตร์ไทย : รวมปัจจุบันมีถึง 13 เหตุการณ์ด้วยกัน ดังนี้

1. รัฐประหาร 1 เมษายน พ.ศ. 2476?พระยามโนปกรณ์นิติธาดา?ได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาผู้แทนราษฎร?พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา

เกิดจากการนำเสนอเค้าโครงเศรษฐกิจของนายปรีดี พนมยงค์?ฉบับที่เรียกว่า “สมุดปกเหลือง” ที่ถูกหลายฝ่ายมองว่าเป็นคล้ายกับเค้าโครงเศรษฐกิจของคอมมิวนิสต์?ก่อให้เกิดความเห็นขัดแย้งกันอย่างรุนแรงในหมู่คณะราษฎรด้วยกันเองและบรรดาข้าราชการ?จึงเกิดการ?รัฐประหารเงียบ?บีบบังคับให้นายปรีดีเดินทางออกนอกประเทศ?พร้อมทั้งกวาดล้างจับกุมพวกที่คิดว่าเป็นคอมมิวนิสต์,?พรรคคอมมิวนิสต์??ทั้งนี้มีบันทึกที่ไม่เป็นทางการว่า พระยามโนปกรณ์นิติธาดา และ พระยาทรงสุรเดช ร่วมมือกันในการขจัดบทบาททางการเมืองของคนสำคัญในคณะราษฏรเอง เช่น นายปรีดี พนมยงค์ และหลวงพิบูลสงคราม?เป็นต้น

2. รัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476?นำโดยพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา?ยึดอำนาจรัฐบาล?พระยามโนปกรณ์นิติธาดา

เป็นรัฐประหารครั้งแรกในประเทศไทย?รัฐประหารครั้งนี้มีขึ้นหลังพระยามโนปกรณ์นิติธาดาประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาฯ?และงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา หลังจากมีความขัดแย้ง?”สมุดปกเหลือง” จนกระทั่งเกิดวิกฤตเมื่อ “4 ทหารเสือ”?พระยาพหลพลพยุหเสนา,?พระยาทรงสุรเดช,?พระยาฤทธิอัคเนย์?และพระประศาสน์พิทยายุทธ?ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่?18 มิถุนายน?ปีเดียวกัน โดยอ้างเหตุผลว่าเพื่อพักผ่อนหลังจากตรากตรำทำงานราชการจนสุขภาพเสื่อมโทรม

จากนั้น ในเวลาหัวค่ำของคืนวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 คณะทหารบก, ทหารเรือ และพลเรือน นำโดยพระยาพหลพลพยุหเสนา,?หลวงพิบูลสงคราม?และหลวงศุภชลาศัย?ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจจากพระยามโนปกรณ์นิติธาดา

อ่านต่อ ?รัฐประหารครั้งที่ 2?

3.?รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490?นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ?ยึดอำนาจรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
สาเหตุของการรัฐประหารก็คือ รัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ซึ่งสืบอำนาจต่อจากรัฐบาล นายปรีดี พนมยงค์?ไม่สามารถจัดการกับปัญหาความขัดแย้งกันในชาติได้ อันมีสาเหตุหลักจากเหตุการณ์สวรรคตของรัชกาลที่ 8?ประกอบกับมีการทุจริตคอร์รัปชั่นในวงราชการ


?4.?รัฐประหาร 6 เมษายน พ.ศ. 2491?คณะนายทหารกลุ่มที่ทำการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490?จี้บังคับให้ นายควง อภัยวงศ์?ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี?และมอบตำแหน่งต่อให้ จอมพล?ป. พิบูลสงคราม

เป็นการทำรัฐประหารโดยบุคคลกลุ่มเดียวกันกับที่ทำรัฐประหารรัฐบาล?พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่สนับสนุน?จอมพล ป. อดีตนายกรัฐมนตรี โดยที่ภายหลังจากกลุ่มนายทหารนำโดย?พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ?(ยศขณะนั้น) ได้ทำการรัฐประหารรัฐบาล?พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์?เมื่อวันที่?8 พฤศจิกายน?พ.ศ. 2490?แล้วได้แต่งตั้งให้?นายควง อภัยวงศ์?หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์?พรรคฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร รักษาการในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี?เพื่อจัดการเลือกตั้งทั่วไปสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)

ต่อมาในการเลือกตั้งวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2491?พรรคประชาธิปัตย์ สามารถชนะการเลือกตั้งได้รับเสียงสูงสุดในสภาฯ นายควง อภัยวงศ์ ในฐานะ หัวหน้าพรรคได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบต่อ ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่บ่งชี้ว่า ผู้มีอำนาจที่แท้จริงก็คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ทำให้เกิดการขัดแย้ง ..


5.?รัฐประหาร 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494?นำโดยจอมพล?ป. พิบูลสงคราม?ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง


เป็นการรัฐประหารอีกครั้งที่เกิดในประเทศไทย?แต่เป็นรัฐประหารครั้งแรกที่เรียกได้ว่า เป็นการ?รัฐประหารตัวเอง?(ยึดอำนาจตัวเอง)?เหตุเนื่องจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม?นายกรัฐมนตรี อ้างว่าไม่ได้รับความสะดวกในการบริหารราชการแผ่นดิน เหตุสืบเนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2492?อันเป็นรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ขณะนั้น ไม่เอื้อให้เกิดอำนาจ คือให้ผู้ที่เป็น สมาชิกวุฒิสภาจะเป็นข้าราชการประจำไม่ได้?การยึดอำนาจกระทำโดยไม่ใช้การเคลื่อนกำลังใด ๆ

ซึ่งการรัฐประหารครั้งนี้ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่าเป็นการกระทำที่ประหลาดที่สุดในโลก และเป็นเหตุให้พรรคฝ่ายค้าน คือ?พรรคประชาธิปัตย์?ได้ประกาศคว่ำบาตรรัฐบาลทุกประการ


6.?รัฐประหาร 16 กันยายน พ.ศ. 2500?นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์?ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม


ป็นการรัฐประหารที่ถือได้ว่าพลิกโฉมหน้าการเมืองไทยไปอีกรูปแบบหนึ่งเช่นเดียวกับการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2490 สืบเนื่องจากความแตกแยกกันระหว่างกลุ่มทหาร ที่นำโดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์?ผู้บัญชาการทหารบก กับ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์?อธิบดีกรมตำรวจ?ที่ค้ำอำนาจของรัฐบาล จอมพล?ป. พิบูลสงคราม

มีการเลือกตั้งที่นับได้ว่ามีการโกงกันมากที่สุดในประวัติศาสตร์?นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและประชาชนร่วมกันเดินขบวนประท้วงการเลือกตั้ง?จอมพล ป. นายกรัฐมนตรี สั่งประกาศภาวะฉุกเฉิน?และแต่งตั้งให้ จอมพลสฤษดิ์ เป็นผู้ปราบปรามการชุมนุม แต่เมื่อฝูงชนเดินทางมาถึงสะพานมัฆวานรังสรรค์แล้ว จอมพลสฤษดิ์กลับเป็นผู้นำเดินขบวน พาฝูงชนข้ามสะพานมัฆวานรังสรรค์



7. รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501?นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพลถนอม กิตติขจร?(ตามที่ตกลงกันไว้)


เกิดขึ้นหลังจากที่?จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์?ได้ทำการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2500?ล้มอำนาจเดิมของ?จอมพล ป. พิบูลสงคราม?แล้วได้มอบหมายให้?นายพจน์ สารสิน?เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อจัดการเลือกตั้ง?มีการเลือกตั้งขึ้นในวันที่?15 ธันวาคม?พ.ศ. 2500?วันที่?1 มกราคม?พ.ศ. 2501พลโทถนอม กิตติขจร?จึงขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อมา

แต่ว่าการเมืองในรัฐสภาไม่สงบ เนื่องจากบรรดา?ส.ส.?เรียกร้องเอาผลประโยชน์และมีการขู่ว่าหากไม่ได้ตามที่ร้องขอจะถอนตัวจากการสนับสนุนรัฐบาล?เป็นต้น?พล.ท.ถนอม กิตติขจร?ก็ไม่อาจควบคุมสถานการณ์ได้?พล.ท.ถนอม กิตติขจร?จึงประกาศลาออกในเวลาเที่ยงของวันเดียวกัน แต่ทว่ายังไม่ได้ประกาศให้แก่ประชาชนทราบโดยทั่วกัน จากนั้นจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์?ประกาศยึดอำนาจอีกครั้ง โดยอ้างถึงเหตุความมั่นคงของประเทศ ซึ่งมีลัทธิคอมมิวนิสต์กำลังคุกคาม โดยมีคำสั่งคณะปฏิวัติให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495?ที่ใช้อยู่ขณะนั้น ยุบสภา ยกเลิกสถาบันทางการเมือง


8. รัฐประหาร 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514?นำโดย จอมพลถนอม กิตติขจร ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง

เป็นการรัฐประหารอีกครั้งในประเทศไทย?ที่เป็นการ?ยึดอำนาจตัวเอง?สาเหตุสืบเนื่องจากการที่สมาชิกพรรคสหประชาไทยของจอมพลถนอม กิตติขจร?นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2512?นำโดย นายญวง เอี่ยมศิลา?ส.ส.จังหวัดอุดรธานี?ได้เรียกร้องผลประโยชน์ตอบแทนต่าง ๆ ตามที่จอมพลถนอมได้เคยสัญญาไว้ในช่วงเลือกตั้ง เมื่อไม่ได้รับการตอบแทนดังที่สัญญาไว้ ส.ส.เหล่านี้ได้ต่างพากันเรียกร้องต่าง ๆ นานา บ้างก็ขู่ว่าจะลาออก เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้เป็นเหตุให้ จอมพลถนอม หัวหน้าพรรคและนายกรัฐมนตรีซึ่งได้รับฉายาสมัยนั้นว่า?“นายกฯคนซื่อ”?ไม่อาจควบคุมสถานการณ์ในสภาฯ?ได้ จึงทำการยึดอำนาจตนเองขึ้น โดยไม่มีชื่อเรียกคณะรัฐประหารในครั้งนี้โดยเฉพาะเหมือนการรัฐประหารที่เคยมีมาในอดีต แต่เรียกตัวเองเพียงแค่ว่า?คณะปฏิวัติ



9. รัฐประหาร 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519?นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่?ยึดอำนาจรัฐบาล?ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช


เนื่องจากเหตุการณ์การสังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์?ท่าพระจันทร์?ที่เกิดขึ้นมาตลอดช่วงวันนั้นที่เรียกว่า?เหตุการณ์ 6 ตุลา?รัฐบาลพลเรือนโดย?หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช?นายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม?ไม่อาจควบคุมสถานการณ์ให้อยู่ในความสงบเรียบร้อยได้ คณะนายทหาร 3 เหล่าทัพและอธิบดีกรมตำรวจ?นำโดย พลเรือเอกสงัด ชลออยู่?ผู้บัญชาการทหารสูงสุด จึงจำเป็นต้องยึดอำนาจการปกครองไว้ โดยใช้ชื่อว่า?คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน

อ่านต่อ?รัฐประหารครั้งที่ 9

10.รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520?นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล นายธานินทร์ กรัยวิเชียร

เหตุเนื่องจากการที่คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินที่นำโดย พล.ร.อ.สงัด ได้ทำการรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2519?เนื่องจากในเหตุการณ์ 6 ตุลา?และแต่งตั้ง นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี?โดยรัฐบาลนายธานินทร์มีภารกิจสำคัญที่จะต้องกระทำคือ การปฏิรูปการเมืองภายในระยะเวลา 12 ปี ซึ่งทางคณะปฏิรูปฯเห็นว่าล่าช้าเกินไป ประกอบกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในประเทศยังไม่สงบดีด้วย ดังนั้นจึงกระทำการรัฐประหารซ้ำอีกครั้ง ซึ่งอาจเรียกว่าเป็นการ?รัฐประหารตัวเอง?เพื่อกระชับอำนาจก็ว่าได้


11. รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534?นำโดย พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์?ยึดอำนาจรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ

บางครั้งเรียกว่า?เหตุการณ์ รสช.??โดย?คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ?หรือ?รสช.(National Peace Keeping Council – NPKC) ยึดอำนาจจากรัฐบาล?พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ?โดยมีเหตุผลหลายประการ เช่น?พฤติการณ์ฉ้อราษฎร์บังหลวง,??ข้าราชการการเมือง ใช้อำนาจกดขี่ข่มเหงราชการประจำผู้ซื่อสัตย์สุจริต,??รัฐบาลเป็นเผด็จการทางรัฐสภา


12. รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549?นำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน?ยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร


?นำโดย?คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข?ซึ่งมีพลเอก สนธิ บุญยรัตกลินเป็นหัวหน้าคณะ โดยโค่นล้มรักษาการนายกรัฐมนตรีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร?ซึ่งนับเป็นการก่อรัฐประหารเป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปี รัฐประหารครั้งนี้เกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนต่อมา หลังจากที่การเลือกตั้งเดือนเมษายนถูกตัดสินให้เป็นโมฆะ นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ดำเนินมายาวนานนับตั้งแต่เดือนกันยายน?พ.ศ. 2548?คณะรัฐประหารได้ยกเลิกการเลือกตั้งในเดือนตุลาคม ยกเลิกรัฐธรรมนูญ?สั่งยุบสภา?สั่งห้ามการประท้วงและกิจกรรมทางการเมือง ยับยั้งและเซ็นเซอร์สื่อ ประกาศใช้กฎอัยการศึก?และจับกุมสมาชิกคณะรัฐมนตรีหลายคน


13. รัฐประหาร 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557?นำโดย พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา?เป็นการประกาศรัฐประหารเพื่อให้รัฐมนตรีรักษาการทั้งหมดหมดอำนาจ และเปลี่ยนผ่านสู่การจัดตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่

เป็นเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทยที่มีผลทั่วราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เวลา 16.30 น. โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. (National Peace and Order Maintaining Council) ที่นำโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา?ผู้บัญชาการทหารบก?เป็นหัวหน้าคณะ นับเป็นการรัฐประหารครั้งที่ 13 ในประวัติศาสตร์ไทย



สองวันก่อนหน้านั้น พลเอก ประยุทธ์ ในนามของกองทัพบก ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก?ตั้งแต่เวลา 03:00 นาฬิกา ด้วยการอาศัยอำนาจตามกฎอัยการศึก พ.ศ. 2457?ต่อมากองทัพบกได้ออกประกาศยุติการดำเนินการของศูนย์อำนายการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) และจัดตั้ง?กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย?(กอ.รส.)
ขึ้นแทนโดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
เป็นผู้อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ผอ.รส.) และออกประกาศคำสั่ง
และขอความร่วมมือในหลายเรื่องอย่างต่อเนื่องในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
เช่น
ขอให้ระงับการแพร่ภาพออกอากาศโทรทัศน์ดาวเทียมและวิทยุชุมชนที่ไม่ได้รับใบ
อนุญาต ขอความร่วมมือในการเผยแพร่เนื้อหาทางอินเทอร์เน็ต
และเชิญประชุมข้าราชการระดับสูง ผู้นำกลุ่มการเมือง ตัวแทนพรรคการเมืองต่าง
ๆ เป็นต้น




ขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย