สาระสำคัญ
- Home
- เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยประชาชน
- คำประกาศเพื่อการปฎิวัติระบอบการปกครอง 18 ก.พ. 2555
- คำประกาศสถานีวิทยุมหาวิทยาลัยประชาชน
- สถานียูทูปมหาวิทยาลัยประชาชน
- มดแดงล้มช้างคืออะไร?
- หัวใจสำคัญของแนวทางปฏิวัติมดแดงล้มช้าง
- Ideology: อุดมการณ์มดแดง
- “เป้าหมายการปฏิวัติแบบ มดแดงล้มช้าง”
- โครงการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยประชาชน
- หลักสูตร
- จดหมายเหตุมหาวิทยาลัยประชาชน
- ภาคีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชน
- รายละเอียดบัญชีและผู้มีอุปการคุณต่อมหาวิทยาลัย
- ติดตามทาง Facebook
- คำประกาศสถานีวิทยุมหาวิทยาลัยประชาชน
- Missions : พันธกิจมดแดง
- เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยประชาชน
- ทำเนียบวิทยากรตั้งแต่การก่อตั้ง
Thursday, June 30, 2016
ชข่าวรั่วมาเร็ว..ชายโฉดทรยศ ขายเพื่อนดีเจซุนโฮ
ชข่าวรั่วมาเร็ว..ชายโฉดทรยศ ขายเพื่อนดีเจซุนโฮ
เตือนภัย!!!! ใหญ่ พัทยา จากนกต่อคดีระเบิดศาลอาญารัชดาสู่การก้าวล้วงอุ้ม ดีเจซุนโฮ
เตือนภัย!!!! ใหญ่ พัทยา จากนกต่อคดีระเบิดศาลอาญารัชดาสู่การก้าวล้วงอุ้ม ดีเจซุนโฮ
ข่าวอุ้มข้ามประเทศ DJ.เบียร์ หรือ นายอิทธิพล สุขแป้น
ข่าวอุ้มข้ามประเทศ DJ.เบียร์ หรือ นายอิทธิพล สุขแป้น
Wednesday, June 29, 2016
หน่วยทหารม้าเตรียมความเตรียมซ้อมเข้าปะทะฝูงชนธรรมกาย
หน่วยทหารม้าเตรียมความเตรียมซ้อมเข้าปะทะฝูงชนธรรมกาย
ทำได้ตามใจ คือเผด็จการไทยแท้... โดย อ. ชูพงศ์ เปลี่ยนระบอบ
แต่คนไทยค่อนประเทศ ยังยากจน และเป็นหนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆแต่กษัตริย์ไทย ยังครองแชมป์ กษัตริย์ร่ำรวยที่สุดในโลก รวย กว่า ควีน อลิซาเบท ของอังกฤษ. และรวยกว่าจักรพรรดิ์ ของญี่ปุ่น และ รวยกว่า กษัตริย์ประเทศอื่นๆในโลก
น่าแปลกใจไหมครับ? ท่านเคยสงสัยใหมครับ?
นายกรัฐมนตรีอังกฤษ สนับสนุน ให้อังกฤษเป็นสมาชิก EU ต่อไป. แต่ประชาชนลงประชามติให้อังกฤษออกจาก EU. ชนะฝ่ายนายกรัฐมนตรี แบบเฉียดฉิว. และก่อนลงประชามติอังกฤษมีเสรีภาพเต็มที่ ในการรณนรงค์ และเเสดงความเห็น เมื่อ ฝ่ายสนับสนุนให้อยู่ต่อกับ EU คือฝ่าย นายกรัฐมนตรี แพ้ ประชามติ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ออกมาประกาศเคารพการตัดสินใจของประชาชน. และแสดงสปิริต ด้วยการประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี.
แต่ นายกรัฐมนตรี ปัจจุบันในประเทศไทย(ไม่ใช่นายกรัฐมนตรี ของประเทศไทย) ประกาศ ถึงแม้ประชามติ รัฐธรรมนูญแพ้ ก็จะไม่ลาออก
น่าแปลกใจไหมครับ ?
ท่าเคยสงสัยไหมครับ? กษัตริย์ิอังกฤษ (ควีน อลิซาเบท)ก็ไม่ได้ร่ำรวย แต่นายกรัฐมนตรีอังกฤษมีสปีริต ลาออก เมื่อแพ้ประชามติ.
กษัตริย์ไทย ร่ำรวยที่สุดในโลก นายกรัฐมนตรีในประเทศไทย มีความหน้าด้านรีบออกมาประกาศโชว์ความหน้าด้าน ว่าแพ้ประชามติก็ไม่ลาออก
ท่าน จะอธิบายเรื่องราวในประเทศไทย ขณะนี้ อย่างไร?
คือเรื่อง กษัตริย์ไทย รวยที่สุดในโลกแต่ประชาชนยากจนติดอันดับโลก
เรื่อง นายกรัฐมนตรีในประเทศไทยประกาศว่า ถึงแพ้ประชามติก็ไม่ลาออก
เรื่องตามไล่จับเอาคนที่รณรงค์ไม่รับรัฐธรรมนูณเข้าคุก.
ช่วยกันเข้ามาอธิบายกันหน่อยครับ. ผมขอความรู้หน่อย.
ขอบคุณครับ
หลวงตา ชูพงศ์ เปลี่ยนระบอบ
ทำได้ตามใจ คือเผด็จการไทยแท้... โดย อ. ชูพงศ์ เปลี่ยนระบอบ
แต่คนไทยค่อนประเทศ ยังยากจน และเป็นหนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆแต่กษัตริย์ไทย ยังครองแชมป์ กษัตริย์ร่ำรวยที่สุดในโลก รวย กว่า ควีน อลิซาเบท ของอังกฤษ. และรวยกว่าจักรพรรดิ์ ของญี่ปุ่น และ รวยกว่า กษัตริย์ประเทศอื่นๆในโลก
น่าแปลกใจไหมครับ? ท่านเคยสงสัยใหมครับ?
นายกรัฐมนตรีอังกฤษ สนับสนุน ให้อังกฤษเป็นสมาชิก EU ต่อไป. แต่ประชาชนลงประชามติให้อังกฤษออกจาก EU. ชนะฝ่ายนายกรัฐมนตรี แบบเฉียดฉิว. และก่อนลงประชามติอังกฤษมีเสรีภาพเต็มที่ ในการรณนรงค์ และเเสดงความเห็น เมื่อ ฝ่ายสนับสนุนให้อยู่ต่อกับ EU คือฝ่าย นายกรัฐมนตรี แพ้ ประชามติ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ออกมาประกาศเคารพการตัดสินใจของประชาชน. และแสดงสปิริต ด้วยการประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี.
แต่ นายกรัฐมนตรี ปัจจุบันในประเทศไทย(ไม่ใช่นายกรัฐมนตรี ของประเทศไทย) ประกาศ ถึงแม้ประชามติ รัฐธรรมนูญแพ้ ก็จะไม่ลาออก
น่าแปลกใจไหมครับ ?
ท่าเคยสงสัยไหมครับ? กษัตริย์ิอังกฤษ (ควีน อลิซาเบท)ก็ไม่ได้ร่ำรวย แต่นายกรัฐมนตรีอังกฤษมีสปีริต ลาออก เมื่อแพ้ประชามติ.
กษัตริย์ไทย ร่ำรวยที่สุดในโลก นายกรัฐมนตรีในประเทศไทย มีความหน้าด้านรีบออกมาประกาศโชว์ความหน้าด้าน ว่าแพ้ประชามติก็ไม่ลาออก
ท่าน จะอธิบายเรื่องราวในประเทศไทย ขณะนี้ อย่างไร?
คือเรื่อง กษัตริย์ไทย รวยที่สุดในโลกแต่ประชาชนยากจนติดอันดับโลก
เรื่อง นายกรัฐมนตรีในประเทศไทยประกาศว่า ถึงแพ้ประชามติก็ไม่ลาออก
เรื่องตามไล่จับเอาคนที่รณรงค์ไม่รับรัฐธรรมนูณเข้าคุก.
ช่วยกันเข้ามาอธิบายกันหน่อยครับ. ผมขอความรู้หน่อย.
ขอบคุณครับ
หลวงตา ชูพงศ์ เปลี่ยนระบอบ
Tuesday, June 28, 2016
ชาวบ้านในมณฑลกวางตุ้ง ลุกขึ้นประท้วงทางการ เหตุจับกุมผู้นำที่ได้รับการเลือกตั้ง. #ประชาธิปไตย# ประเทศจีน#ประท้วง
ชาวบ้านในมณฑลกวางตุ้ง ลุกขึ้นประท้วงทางการ เหตุจับกุมผู้นำที่ได้รับการเลือกตั้ง. #ประชาธิปไตย# ประเทศจีน#ประท้วง
Monday, June 27, 2016
อ ชูพงศ์ ถี่ถ้วน 25 มิถุนายน 2559 ตอน เรื่องร้ายในเมืองไทย คณะราษฎรทิ้งไว้ให้ จริงหรือ?
อ ชูพงศ์ ถี่ถ้วน 25 มิถุนายน 2559 ตอน เรื่องร้ายในเมืองไทย คณะราษฎรทิ้งไว้ให้ จริงหรือ?
****************************
หากท่านคิดดี หวังดี และมั่นใจในความดีของท่าน ขอให้ปาวารณาตัว ร่วมเป็นมดแดงล้มช้าง ได้ที่
หรือที่นี่ http://tinyurl.com/pcqjppt
หากลิ้งค์ข้างบนถูกบล็อก ให้ส่งรายละเอียดไปที่ 4everche@gmail.com โดยระบุ 1. ชื่อ (จัดตั้งหรือชื่อกลุ่ม) 2. จำนวนสมาชิกในเครือข่าย 3. จังหวัดและอำเภอ 4. อีเมล์ 5. ไลน์หรือเบอร์โทรศัพท์ 6. อาชีพของท่านหรือสมาชิก
อ ชูพงศ์ ถี่ถ้วน 25 มิถุนายน 2559 ตอน เรื่องร้ายในเมืองไทย คณะราษฎรทิ้งไว้ให้ จริงหรือ?
อ ชูพงศ์ ถี่ถ้วน 25 มิถุนายน 2559 ตอน เรื่องร้ายในเมืองไทย คณะราษฎรทิ้งไว้ให้ จริงหรือ?
****************************
หากท่านคิดดี หวังดี และมั่นใจในความดีของท่าน ขอให้ปาวารณาตัว ร่วมเป็นมดแดงล้มช้าง ได้ที่
หรือที่นี่ http://tinyurl.com/pcqjppt
หากลิ้งค์ข้างบนถูกบล็อก ให้ส่งรายละเอียดไปที่ 4everche@gmail.com โดยระบุ 1. ชื่อ (จัดตั้งหรือชื่อกลุ่ม) 2. จำนวนสมาชิกในเครือข่าย 3. จังหวัดและอำเภอ 4. อีเมล์ 5. ไลน์หรือเบอร์โทรศัพท์ 6. อาชีพของท่านหรือสมาชิก
Saturday, June 25, 2016
Friday, June 24, 2016
Thursday, June 23, 2016
ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ ๑ เมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ คนไทย ควรเปิดฟังทุกวัน
ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ ๑ เมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ คนไทย ควรเปิดฟังทุกวัน
พระเจ้าสร้างโลก (ภาคพิสดาร)
พระเจ้าสร้างโลก (ภาคพิสดาร)
NDM ยืนยันไม่ประกันตัว แม้จะถูกแจ้งข้อหาขัดคำสั่ง คสช. ตามเจตจำนงค์เดิม ของขบวนการ
NDM ยืนยันไม่ประกันตัว แม้จะถูกแจ้งข้อหาขัดคำสั่ง คสช. ตามเจตจำนงค์เดิม ของขบวนการ
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน Universal Declaration of Human Rights
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
คำปรารภ
ด้วยเหตุที่การยอมรับศักดิ์ศรีประจำตัว และสิทธิซึ่งเสมอกันและไม่อาจโอนแก่กันได้ ของสมาชิกทั้งปวงแห่งครอบครัวมนุษย์เป็นรากฐานของเสรีภาพ ความยุติธรรม และสันติภาพในพิภพ
ด้วยเหตุที่การเมินเฉย และดูหมิ่นเหยียดหยามสิทธิมนุษยชนได้ก่อให้เกิดการอันป่าเถื่อนโหดร้ายทารุณ ซึ่งได้กระทบกระเทือนมโนธรรมของมนุษยชาติอย่างรุนแรง และโดยเหตุที่ได้มีการประกาศปณิธานอันสูงสุดของสามัญชนว่าถึงวาระแห่งโลกแล้วที่มนุษย์จะมีเสรีภาพในการพูดและในความเชื่อถือ รวมทั้งมีเสรีภาพจากความกลัวและความต้องการ
ด้วยเหตุที่เป็นสิ่งจำเป็นสิทธิมนุษยชนควรได้รับความคุ้มครองโดยหลักนิติธรรม ถ้าไม่พึงประสงค์ให้มนุษย์ต้องถูกบีบบังคับให้หาทางออก โดยการกบฏต่อทรราชและการกดขี่อันเป็นที่พึ่งแห่งสุดท้าย
ด้วยเหตุที่ประดาประชาชนแห่งสหประชาชาติได้ยืนยันไว้ในกฎบัตรถึงความเชื่อมั่นในสิทธิมนุษย์ชนขั้นพื้นฐานในศักดิ์ศรีและคุณค่าของตัวบุคคล และในความเสมอกันแห่งสิทธิของ ทั้งชายและหญิง และได้ตัดสินใจที่จะส่งเสริมความก้าวหน้าทางสังคมตลอดจนมาตรฐานแห่งชาติให้ดีขึ้น ได้มีเสรีภาพมากขึ้น
ด้วยเหตุที่รัฐสมาชิกได้ปฏิญาณที่จะให้ได้มา โดยร่วมมือกับสหประชาชาติ ซึ่งการส่งเสริมการเคารพและการถือปฏิบัติโดยสากลต่อสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
ด้วยเหตุที่ความเข้าใจตรงกันในเรื่องสิทธิและเสรีภาพมีความสำคัญยิ่งเพื่อให้ปฏิญาณนี้เกิดสัมฤทธิผลอย่างเต็มเปี่ยม
ดังนั้น บัดนี้
สมัชชาจึงประกาศให้
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้เป็นมาตรฐานร่วมกันแห่งความสำเร็จ สำหรับประชาชนทั้งหลายและประชาชาติทั้งปวง ด้วยจุดประสงค์ที่จะให้ปัจเจกบุคคลทุกผู้ทุกนามและองค์กรของสังคมทุกหน่วย โดยการระลึกเสมอ ๆ ถึงปฏิญญานี้ พยายามสั่งสอนและให้การสอนและให้การศึกษาเพื่อส่งเสริมการเคารพต่อสิทธิและเสรีภาพเหล่านี้ และด้วยมาตรฐานที่เจริญก้าวหน้าไปข้างหน้า ทั้งในและระหว่างประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งการยอมรับและการถือปฏิบัติต่อสิทธิเหล่านั้นสากลและได้ผลทั้งในหมู่ประชาชนของรัฐสมาชิกเอง และในหมู่ประชาชนแห่งดินแดนที่อยู่ภายใต้ดุลอาณาของรัฐสมาชิกดังกล่าว
ข้อ 1
มนุษย์ทั้งหลายเกิดมาอิสระเสรี และเท่าเทียมกันทั้งศักดิ์ศรีและสิทธิ ทุกคนได้รับการประสิทธิประสาทเหตุผล และมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันอย่างฉันพี่น้อง
ข้อ 2
บุคคลชอบที่จะมีสิทธิและเสรีภาพประดาที่ระบุไว้ในปฏิญญานี้ ทั้งนี้โดยไม่มีการจำแนกความแตกต่างในเรื่องใด ๆ เช่น เชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมืองหรือทางอื่นใด ชาติหรือสังคมอันเป็นที่มาเดิม ทรัพย์สิน กำเนิด หรือสถานะอื่นใด
นอกจากนี้การจำแนกข้อแตกต่างโดยอาศัยมูลฐานแห่งสถานะทางการเมืองทางดุลอาณาหรือทางเรื่องระหว่างประเทศของประเทศ หรือดินแดนซึ่งบุคคลสังกัดจะทำมิได้ ทั้งนี้ไม่ว่าดินแดนดังกล่าวจะเป็นเอกราชอยู่ในความพิทักษ์มิได้ปกครองตนเองหรืออยู่ภายใต้การจำกัดแห่งอธิปไตยอื่นใด
ข้อ 3
บุคคลมีสิทธิในการดำรงชีวิตในเสรีธรรมและในความมั่นคงแห่งร่างกาย
ข้อ 4
บุคคลใดจะถูกบังคับให้เป็นทาส หรืออยู่ในภาวะจำยอมใด ๆ มิได้ การเป็นทาสและการค้าทาสจะมีไม่ได้ในทุกรูปแบบ
ข้อ 5
บุคคลใดจะถูกทรมาน หรือได้รับการปฏิบัติ หรือลงทัณฑ์ซึ่งทารุณโหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือหยามเกียรติมิได้
ข้อ 6
ทุก ๆ คนมีสิทธิที่จะได้รับการยอมรับว่าเป็นบุคคลในกฎหมายไม่ว่า ณ ที่ใด
ข้อ 7
ทุก ๆ คนต่างเสมอกันในกฎหมายและชอบที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใด ๆ ทุก ๆ คนชอบที่ได้รับการคุ้มครองอย่างเสมอหน้าจากการเลือกปฏิบัติใด ๆ อันเป็นการล่วงละเมิดปฏิญญานี้ และต่อการยุยงส่งเสริมให้เกิดการเลือกปฏิบัติเช่นนั้น
ข้อ 8
บุคคลมีสิทธิที่จะได้รับการเยียวยาอย่างได้ผลโดยผลศาลแห่งชาติ ซึ่งมีอำนาจเนื่องจากการกระทำใด ๆ อันละเมิดต่อสิทธิขั้นมูลฐาน ซึ่งตนได้รับจากรัฐธรรมนูญหรือจากกฎหมาย
ข้อ 9
บุคคลใดจะถูกจับ กักขัง หรือเนรเทศโดยพลการมิได้
ข้อ 10
บุคคลชอบที่จะเท่าเทียมกันอย่างบริบรูณ์ในอันที่จะได้รับการพิจารณาอย่างเป็นธรรมและเปิดเผยโดยศาลซึ่งเป็นอิสระและไร้อคติ ในการวินิจฉัยชี้ขาดสิทธิและหน้าที่ ตลอดจนข้อที่ตนถูกกล่าวหาใด ๆ ทางอาญา
ข้อ 11
1. บุคคลซึ่งถูกกล่าวหาด้วยความผิดทางอาญา สิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่า
บริสุทธิ์จนกว่าจะมีการพิสูจน์ว่ามีความผิดตามกฎหมายในการพิจารณาโดยเปิดเผย ณ ที่ซึ่งตนได้หลักประกันทั้งหมดที่จำเป็นในการต่อสู้คดี
2. บุคคลใดจะถูกถือว่ามีความผิดอันมีโทษทางอาญาใด ๆ ด้วยเหตุผลที่ตนได้กระทำหรือ
เว้นการกระทำการใด ๆ ซึ่งกฎหมายของประเทศหรือกฎหมายระหว่างประเทศ ในขณะที่มีการกระทำนั้นมิได้ระบุว่าเป็นความผิดทางอาญามิได้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่าโทษที่ใช้อยู่ในขณะที่การกระทำความผิดทางอาญานั้นเกิดขึ้นมิได้
ข้อ 12
การเข้าไปแทรกสอดโดยพลการในกิจส่วนตัว ครอบครัว เคหสถาน การส่งข่าวสารตลอดจนการโจมตีต่อเกียรติยศและชื่อเสียงของบุคคลนั้นจะทำมิได้ ทุก ๆ คนมีสิทธิจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายจากการสอดแทรกและโจมตีดังกล่าว
ข้อ 13
1. บุคคลมีสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการเคลื่อนย้าย และในถิ่นที่อยู่ภายในขอบเขตดินแดนของแต่ละรัฐ
2. บุคคลมีสิทธิที่จะเดินทางออกจากประเทศใด ๆ รวมทั้งของตนเองและที่จะกลับคืนสู่บ้านเกิดเมืองนอน
ข้อ 14
1. บุคคลมีสิทธิที่จะแสวงหาและพักพิงในประเทศอื่น ๆ เพื่อลี้ภัยจากการกดขี่ข่มเหง
2. สิทธินี้จะกล่าวอ้างมิได้ในกรณีการฟ้องคดี ซึ่งโดยความจริงเกิดจากความผิดที่ไม่ใช่เรื่อง การเมือง หรือจากการกระทำที่ขัดต่อความมุ่งประสงค์และหลักการของสหประชาชาติ
ข้อ 15
1. บุคคลมีสิทธิในการถือสัญชาติ
2. การถอนสัญชาติโดยพลการ หรือการปฏิเสธที่จะเปลี่ยนสัญชาติของบุคคลใดนั้นจะ กระทำมิได้
ข้อ 16
1. ชายและหญิงเมื่อเจริญวัยบริบูรณ์แล้ว มีสิทธิที่จะสมรสและที่จะสร้างครอบครัวโดยไม่มี การจำกัดใด ๆ เนื่องจากเชื้อชาติ สัญชาติ หรือศาสนา บุคคลชอบที่จะมีสิทธิเท่าเทียมกันในเรื่องการสมรส ในระหว่างการสมรสและในการขาดจากการสมรส
2. การสมรสจะกระทำได้ก็โดยการยินยอมอย่างเสรี และเต็มใจของคู่บ่าวสาวผู้ตั้งใจจะ กระทำการสมรส
3. ครอบครัว คือ กลุ่มซึ่งเป็นหน่วยธรรมชาติและพื้นฐานของสังคมและชอบที่จะได้รับการ คุ้มครองโดยสังคมและรัฐ
ข้อ 17
1. บุคคลมีสิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินโดยลำพังตนเอง และโดยการร่วมกับผู้อื่น
2. การยึดเอาทรัพย์สินของบุคคลใดไปเสียโดยพลการกระทำมิได้
ข้อ 18
บุคคลมีสิทธิในเสรีภาพแห่งความคิด มโนธรรม และศาสนา สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะเปลี่ยนศาสนา หรือความเชื่อถือ และเสรีภาพ ที่จะแสดงให้ศาสนาหรือความเชื่อถือประจักษ์ในรูปของการสั่งสอน การปฏิบัติกิจความเคารพสักการะบูชา สวดมนต์ และการถือปฏิบัติพิธีกรรม ไม่ว่าโดยลำพังตนเอง หรือร่วมกับผู้อื่นในประชาคมในที่สาธารณะหรือส่วนตัว
ข้อ 19
บุคคลมีสิทธิในเสรีภาพแห่งความเห็นและการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะยึดมั่นในความเห็นปราศจากการสอดแทรกและที่แสวงหารับตลอดจนแจ้งข่าว รวมทั้งความคิดเห็นผ่านสื่อ ใด ๆ และโดยมิต้องคำนึงถึงเขตแดน
ข้อ 20
1. บุคคลมีสิทธิในเสรีภาพแห่งการชุมนุม และการสมาคมโดยสงบ
2. การบังคับให้บุคคลเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมจะทำมิได้
ข้อ 21
1. บุคคลมีสิทธิที่จะเข้าร่วมในรัฐบาลแห่งประเทศของตน ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยผู้แทนซึ่ง ผ่านการเลือกอย่างเสรี
2. บุคคลมีสิทธิเข้าถึงเท่ากันในบริการสาธารณะในประเทศของตน
3. เจตจำนงของประชาชนจะเป็นฐานแห่งอำนาจของรัฐบาล เจตจำนงนี้จะแสดงออกโดย การเลือกตั้งเป็นครั้งเป็นคราวอย่างแท้จริง ด้วยการให้สิทธิออกเสียงอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันและโดยการลงคะแนนลับหรือวิธีการลงคะแนนอย่างเสรี
ข้อ 22
ในฐานะสมาชิกของสังคมด้วยความเพียรพยายามของชาติตลอดจนความร่วมมือระหว่างประเทศและโดยการสอดคล้องกับการระเบียบและทรัพยากรของแต่ละรัฐ บุคคลมีสิทธิในความมั่นคงทางสังคมและชอบที่จะได้รับผลแห่งสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมซึ่งจำเป็นต่อศักดิ์ศรีและการพัฒนาบุคลิกภาพอย่างเสรีของตน
ข้อ 23
1. บุคคลมีสิทธิที่จะทำงาน ที่จะเลือกงานอย่างเสรี ที่จะมีสภาวะการทำงานที่ยุติธรรมและพอใจ และที่จะได้รับความคุ้มครองจากการว่างงาน
2. บุคคลมีสิทธิในการรับค่าตอบแทนเท่ากันสำหรับการทำงานที่เท่ากัน โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติใด ๆ
3. บุคคลผู้ทำงานมีสิทธิในรายได้ซึ่งยุติธรรม และเอื้อประโยชน์เพื่อเป็นประกันสำหรับตน เองและครอบครัวให้การดำรงชีวิตมีค่าควรแก่ศักดิ์ศรีของมนุษย์ และถ้าจำเป็นก็ชอบที่จะได้รับความคุ้มครองทางสังคมอื่น ๆ เพิ่มเติม
4. บุคคลมีสิทธิที่จะก่อตั้งและเข้าร่วมกับสภาพแรงงานเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของตน
ข้อ 24
บุคคลมีสิทธิในการพักผ่อนและเวลาว่าง รวมทั้งการจำกัดเวลาทำงานที่ชอบด้วยเหตุผลและมีวันหยุดครั้งคราวที่ได้รับค่าตอบแทน
ข้อ 25
1. บุคคลมีสิทธิในมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอสำหรับสุขภาพ และความอยู่ดีของตน และครอบครัวรวมทั้งอาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย การรักษาพยาบาล และบริการสังคมที่จำเป็น และสิทธิในความมั่นคงในกรณีว่างงาน เจ็บป่วย ทุพพลภาพ เป็นหม้าย วัยชรา หรือการขาดปัจจัยในการเลี้ยงชีพอื่นใดในพฤติการณ์อันเกิดจากที่ตนจะควบคุมได้
2. มารดาและบุตรชอบที่จะได้รับการดูแลและความช่วยเหลือเป็นพิเศษ เด็กทั้งหลายไม่ว่า จะเป็นบุตรในหรือนอกสมรสย่อมได้รับการคุ้มครองทางสังคมเช่นเดียวกัน
ข้อ 26
1. บุคคลมีสิทธิในการศึกษาการศึกษาจะเป็นสิ่งที่ให้เปล่าโดยไม่คิดมูลค่า อย่างน้อยสุดใน ขั้นประถมศึกษาและขั้นพื้นฐาน ขั้นประถมศึกษาให้เป็นการศึกษาภาคบังคับ ขั้นเทคนิค และขั้นประกอบอาชีพเป็นการศึกษาจะต้องจัดมีขึ้นโดยทั่ว ๆ ไป และขั้นสูงเป็นขั้นที่จะเปิดให้ทุกคนเท่ากันตามความสามารถ
2. การศึกษาจะมุ่งไปในทางพัฒนาบุคลิกภาพของมนุษย์อย่างเต็มที่ และเพื่อเสริมพลังการ เคารพต่อสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐานให้แข็งแกร่ง ทั้งจะมุ่งเสริมความเข้าใจ ขันติและมิตรภาพในระหว่างประชาชาติ กลุ่มเชื้อชาติ หรือกลุ่มศาสนา และจะมุ่งขยายกิจกรรมของสหประชาชาติเพื่อธำรงสันติภาพ
3. ผู้ปกครองมีสิทธิก่อนผู้อื่นที่จะเลือกชนิดของการศึกษาสำหรับบุตรหลานของตน
ข้อ 27
1. บุคคลมีสิทธิที่จะเข้าร่วมใช้ชีวิตทางด้านวัฒนธรรมในประชาคมอย่างเสรี ที่จะพึงใจใน ศิลปะและมีส่วนในความคืบหน้าและผลประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์
2. บุคคลมีสิทธิในการรับความคุ้มครองประโยชน์ทางด้านศีลธรรมและทางวัตถุอันเป็นผล ได้จากการประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ วรรณกรรม และศิลปะซึ่งตนเป็นเจ้าของ
ข้อ 28
บุคคลชอบที่จะได้รับประโยชน์จากระเบียบสังคมและระหว่างประเทศอันจะอำนวยให้การใช้สิทธิและเสรีภาพบรรดาที่ได้ระบุในปฏิญญานี้ทำได้อย่างเต็มที่
ข้อ 29
1. บุคคลมีหน้าที่ต่อประชาคมอันเป็นที่เดียวซึ่งบุคลิกภาพของตนจะพัฒนาได้อย่างเสรีและ เต็มความสามารถ
2. ในการใช้สิทธิและเสรีภาพ บุคคลต้องอยู่ภายใต้เพียงเช่นที่จำกัดโดยกำหนดแห่งกฎหมาย เฉพาะ เพื่อความมุ่งประสงค์ให้ได้มาซึ่งการยอมรับและการเคารพโดยชอบสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น และเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดอันยุติธรรมของศีลธรรม ความสงบเรียบร้อยของประชาชาติและสวัสดิการโดยทั่ว ๆ ไปในสังคมประชาธิปไตย
3. สิทธิและอิสรภาพเหล่านี้ มิว่าจะด้วยกรณีใดจะใช้ให้ขัดกับความมุ่งประสงค์และหลักการ ของสหประชาชาติไม่ได้
ข้อ 30
ข้อความต่าง ๆ ตามปฏิญญานี้ไม่เปิดช่องที่จะแปลความได้ว่าให้สิทธิใด ๆ แก่รัฐ กลุ่มชนหรือบุคคลใด ๆ ที่จะประกอบกิจกรรม หรือกระทำการใด ๆ อันมุ่งต่อการทำลายสิทธิและเสรีภาพใด ๆ บรรดาที่ได้ระบุไว้ในบทบัญญัติฉบับนี้
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน Universal Declaration of Human Rights
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
คำปรารภ
ด้วยเหตุที่การยอมรับศักดิ์ศรีประจำตัว และสิทธิซึ่งเสมอกันและไม่อาจโอนแก่กันได้ ของสมาชิกทั้งปวงแห่งครอบครัวมนุษย์เป็นรากฐานของเสรีภาพ ความยุติธรรม และสันติภาพในพิภพ
ด้วยเหตุที่การเมินเฉย และดูหมิ่นเหยียดหยามสิทธิมนุษยชนได้ก่อให้เกิดการอันป่าเถื่อนโหดร้ายทารุณ ซึ่งได้กระทบกระเทือนมโนธรรมของมนุษยชาติอย่างรุนแรง และโดยเหตุที่ได้มีการประกาศปณิธานอันสูงสุดของสามัญชนว่าถึงวาระแห่งโลกแล้วที่มนุษย์จะมีเสรีภาพในการพูดและในความเชื่อถือ รวมทั้งมีเสรีภาพจากความกลัวและความต้องการ
ด้วยเหตุที่เป็นสิ่งจำเป็นสิทธิมนุษยชนควรได้รับความคุ้มครองโดยหลักนิติธรรม ถ้าไม่พึงประสงค์ให้มนุษย์ต้องถูกบีบบังคับให้หาทางออก โดยการกบฏต่อทรราชและการกดขี่อันเป็นที่พึ่งแห่งสุดท้าย
ด้วยเหตุที่ประดาประชาชนแห่งสหประชาชาติได้ยืนยันไว้ในกฎบัตรถึงความเชื่อมั่นในสิทธิมนุษย์ชนขั้นพื้นฐานในศักดิ์ศรีและคุณค่าของตัวบุคคล และในความเสมอกันแห่งสิทธิของ ทั้งชายและหญิง และได้ตัดสินใจที่จะส่งเสริมความก้าวหน้าทางสังคมตลอดจนมาตรฐานแห่งชาติให้ดีขึ้น ได้มีเสรีภาพมากขึ้น
ด้วยเหตุที่รัฐสมาชิกได้ปฏิญาณที่จะให้ได้มา โดยร่วมมือกับสหประชาชาติ ซึ่งการส่งเสริมการเคารพและการถือปฏิบัติโดยสากลต่อสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
ด้วยเหตุที่ความเข้าใจตรงกันในเรื่องสิทธิและเสรีภาพมีความสำคัญยิ่งเพื่อให้ปฏิญาณนี้เกิดสัมฤทธิผลอย่างเต็มเปี่ยม
ดังนั้น บัดนี้
สมัชชาจึงประกาศให้
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้เป็นมาตรฐานร่วมกันแห่งความสำเร็จ สำหรับประชาชนทั้งหลายและประชาชาติทั้งปวง ด้วยจุดประสงค์ที่จะให้ปัจเจกบุคคลทุกผู้ทุกนามและองค์กรของสังคมทุกหน่วย โดยการระลึกเสมอ ๆ ถึงปฏิญญานี้ พยายามสั่งสอนและให้การสอนและให้การศึกษาเพื่อส่งเสริมการเคารพต่อสิทธิและเสรีภาพเหล่านี้ และด้วยมาตรฐานที่เจริญก้าวหน้าไปข้างหน้า ทั้งในและระหว่างประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งการยอมรับและการถือปฏิบัติต่อสิทธิเหล่านั้นสากลและได้ผลทั้งในหมู่ประชาชนของรัฐสมาชิกเอง และในหมู่ประชาชนแห่งดินแดนที่อยู่ภายใต้ดุลอาณาของรัฐสมาชิกดังกล่าว
ข้อ 1
มนุษย์ทั้งหลายเกิดมาอิสระเสรี และเท่าเทียมกันทั้งศักดิ์ศรีและสิทธิ ทุกคนได้รับการประสิทธิประสาทเหตุผล และมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันอย่างฉันพี่น้อง
ข้อ 2
บุคคลชอบที่จะมีสิทธิและเสรีภาพประดาที่ระบุไว้ในปฏิญญานี้ ทั้งนี้โดยไม่มีการจำแนกความแตกต่างในเรื่องใด ๆ เช่น เชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมืองหรือทางอื่นใด ชาติหรือสังคมอันเป็นที่มาเดิม ทรัพย์สิน กำเนิด หรือสถานะอื่นใด
นอกจากนี้การจำแนกข้อแตกต่างโดยอาศัยมูลฐานแห่งสถานะทางการเมืองทางดุลอาณาหรือทางเรื่องระหว่างประเทศของประเทศ หรือดินแดนซึ่งบุคคลสังกัดจะทำมิได้ ทั้งนี้ไม่ว่าดินแดนดังกล่าวจะเป็นเอกราชอยู่ในความพิทักษ์มิได้ปกครองตนเองหรืออยู่ภายใต้การจำกัดแห่งอธิปไตยอื่นใด
ข้อ 3
บุคคลมีสิทธิในการดำรงชีวิตในเสรีธรรมและในความมั่นคงแห่งร่างกาย
ข้อ 4
บุคคลใดจะถูกบังคับให้เป็นทาส หรืออยู่ในภาวะจำยอมใด ๆ มิได้ การเป็นทาสและการค้าทาสจะมีไม่ได้ในทุกรูปแบบ
ข้อ 5
บุคคลใดจะถูกทรมาน หรือได้รับการปฏิบัติ หรือลงทัณฑ์ซึ่งทารุณโหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือหยามเกียรติมิได้
ข้อ 6
ทุก ๆ คนมีสิทธิที่จะได้รับการยอมรับว่าเป็นบุคคลในกฎหมายไม่ว่า ณ ที่ใด
ข้อ 7
ทุก ๆ คนต่างเสมอกันในกฎหมายและชอบที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติใด ๆ ทุก ๆ คนชอบที่ได้รับการคุ้มครองอย่างเสมอหน้าจากการเลือกปฏิบัติใด ๆ อันเป็นการล่วงละเมิดปฏิญญานี้ และต่อการยุยงส่งเสริมให้เกิดการเลือกปฏิบัติเช่นนั้น
ข้อ 8
บุคคลมีสิทธิที่จะได้รับการเยียวยาอย่างได้ผลโดยผลศาลแห่งชาติ ซึ่งมีอำนาจเนื่องจากการกระทำใด ๆ อันละเมิดต่อสิทธิขั้นมูลฐาน ซึ่งตนได้รับจากรัฐธรรมนูญหรือจากกฎหมาย
ข้อ 9
บุคคลใดจะถูกจับ กักขัง หรือเนรเทศโดยพลการมิได้
ข้อ 10
บุคคลชอบที่จะเท่าเทียมกันอย่างบริบรูณ์ในอันที่จะได้รับการพิจารณาอย่างเป็นธรรมและเปิดเผยโดยศาลซึ่งเป็นอิสระและไร้อคติ ในการวินิจฉัยชี้ขาดสิทธิและหน้าที่ ตลอดจนข้อที่ตนถูกกล่าวหาใด ๆ ทางอาญา
ข้อ 11
1. บุคคลซึ่งถูกกล่าวหาด้วยความผิดทางอาญา สิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่า
บริสุทธิ์จนกว่าจะมีการพิสูจน์ว่ามีความผิดตามกฎหมายในการพิจารณาโดยเปิดเผย ณ ที่ซึ่งตนได้หลักประกันทั้งหมดที่จำเป็นในการต่อสู้คดี
2. บุคคลใดจะถูกถือว่ามีความผิดอันมีโทษทางอาญาใด ๆ ด้วยเหตุผลที่ตนได้กระทำหรือ
เว้นการกระทำการใด ๆ ซึ่งกฎหมายของประเทศหรือกฎหมายระหว่างประเทศ ในขณะที่มีการกระทำนั้นมิได้ระบุว่าเป็นความผิดทางอาญามิได้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่าโทษที่ใช้อยู่ในขณะที่การกระทำความผิดทางอาญานั้นเกิดขึ้นมิได้
ข้อ 12
การเข้าไปแทรกสอดโดยพลการในกิจส่วนตัว ครอบครัว เคหสถาน การส่งข่าวสารตลอดจนการโจมตีต่อเกียรติยศและชื่อเสียงของบุคคลนั้นจะทำมิได้ ทุก ๆ คนมีสิทธิจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายจากการสอดแทรกและโจมตีดังกล่าว
ข้อ 13
1. บุคคลมีสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการเคลื่อนย้าย และในถิ่นที่อยู่ภายในขอบเขตดินแดนของแต่ละรัฐ
2. บุคคลมีสิทธิที่จะเดินทางออกจากประเทศใด ๆ รวมทั้งของตนเองและที่จะกลับคืนสู่บ้านเกิดเมืองนอน
ข้อ 14
1. บุคคลมีสิทธิที่จะแสวงหาและพักพิงในประเทศอื่น ๆ เพื่อลี้ภัยจากการกดขี่ข่มเหง
2. สิทธินี้จะกล่าวอ้างมิได้ในกรณีการฟ้องคดี ซึ่งโดยความจริงเกิดจากความผิดที่ไม่ใช่เรื่อง การเมือง หรือจากการกระทำที่ขัดต่อความมุ่งประสงค์และหลักการของสหประชาชาติ
ข้อ 15
1. บุคคลมีสิทธิในการถือสัญชาติ
2. การถอนสัญชาติโดยพลการ หรือการปฏิเสธที่จะเปลี่ยนสัญชาติของบุคคลใดนั้นจะ กระทำมิได้
ข้อ 16
1. ชายและหญิงเมื่อเจริญวัยบริบูรณ์แล้ว มีสิทธิที่จะสมรสและที่จะสร้างครอบครัวโดยไม่มี การจำกัดใด ๆ เนื่องจากเชื้อชาติ สัญชาติ หรือศาสนา บุคคลชอบที่จะมีสิทธิเท่าเทียมกันในเรื่องการสมรส ในระหว่างการสมรสและในการขาดจากการสมรส
2. การสมรสจะกระทำได้ก็โดยการยินยอมอย่างเสรี และเต็มใจของคู่บ่าวสาวผู้ตั้งใจจะ กระทำการสมรส
3. ครอบครัว คือ กลุ่มซึ่งเป็นหน่วยธรรมชาติและพื้นฐานของสังคมและชอบที่จะได้รับการ คุ้มครองโดยสังคมและรัฐ
ข้อ 17
1. บุคคลมีสิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินโดยลำพังตนเอง และโดยการร่วมกับผู้อื่น
2. การยึดเอาทรัพย์สินของบุคคลใดไปเสียโดยพลการกระทำมิได้
ข้อ 18
บุคคลมีสิทธิในเสรีภาพแห่งความคิด มโนธรรม และศาสนา สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะเปลี่ยนศาสนา หรือความเชื่อถือ และเสรีภาพ ที่จะแสดงให้ศาสนาหรือความเชื่อถือประจักษ์ในรูปของการสั่งสอน การปฏิบัติกิจความเคารพสักการะบูชา สวดมนต์ และการถือปฏิบัติพิธีกรรม ไม่ว่าโดยลำพังตนเอง หรือร่วมกับผู้อื่นในประชาคมในที่สาธารณะหรือส่วนตัว
ข้อ 19
บุคคลมีสิทธิในเสรีภาพแห่งความเห็นและการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะยึดมั่นในความเห็นปราศจากการสอดแทรกและที่แสวงหารับตลอดจนแจ้งข่าว รวมทั้งความคิดเห็นผ่านสื่อ ใด ๆ และโดยมิต้องคำนึงถึงเขตแดน
ข้อ 20
1. บุคคลมีสิทธิในเสรีภาพแห่งการชุมนุม และการสมาคมโดยสงบ
2. การบังคับให้บุคคลเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมจะทำมิได้
ข้อ 21
1. บุคคลมีสิทธิที่จะเข้าร่วมในรัฐบาลแห่งประเทศของตน ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยผู้แทนซึ่ง ผ่านการเลือกอย่างเสรี
2. บุคคลมีสิทธิเข้าถึงเท่ากันในบริการสาธารณะในประเทศของตน
3. เจตจำนงของประชาชนจะเป็นฐานแห่งอำนาจของรัฐบาล เจตจำนงนี้จะแสดงออกโดย การเลือกตั้งเป็นครั้งเป็นคราวอย่างแท้จริง ด้วยการให้สิทธิออกเสียงอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันและโดยการลงคะแนนลับหรือวิธีการลงคะแนนอย่างเสรี
ข้อ 22
ในฐานะสมาชิกของสังคมด้วยความเพียรพยายามของชาติตลอดจนความร่วมมือระหว่างประเทศและโดยการสอดคล้องกับการระเบียบและทรัพยากรของแต่ละรัฐ บุคคลมีสิทธิในความมั่นคงทางสังคมและชอบที่จะได้รับผลแห่งสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมซึ่งจำเป็นต่อศักดิ์ศรีและการพัฒนาบุคลิกภาพอย่างเสรีของตน
ข้อ 23
1. บุคคลมีสิทธิที่จะทำงาน ที่จะเลือกงานอย่างเสรี ที่จะมีสภาวะการทำงานที่ยุติธรรมและพอใจ และที่จะได้รับความคุ้มครองจากการว่างงาน
2. บุคคลมีสิทธิในการรับค่าตอบแทนเท่ากันสำหรับการทำงานที่เท่ากัน โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติใด ๆ
3. บุคคลผู้ทำงานมีสิทธิในรายได้ซึ่งยุติธรรม และเอื้อประโยชน์เพื่อเป็นประกันสำหรับตน เองและครอบครัวให้การดำรงชีวิตมีค่าควรแก่ศักดิ์ศรีของมนุษย์ และถ้าจำเป็นก็ชอบที่จะได้รับความคุ้มครองทางสังคมอื่น ๆ เพิ่มเติม
4. บุคคลมีสิทธิที่จะก่อตั้งและเข้าร่วมกับสภาพแรงงานเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของตน
ข้อ 24
บุคคลมีสิทธิในการพักผ่อนและเวลาว่าง รวมทั้งการจำกัดเวลาทำงานที่ชอบด้วยเหตุผลและมีวันหยุดครั้งคราวที่ได้รับค่าตอบแทน
ข้อ 25
1. บุคคลมีสิทธิในมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอสำหรับสุขภาพ และความอยู่ดีของตน และครอบครัวรวมทั้งอาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย การรักษาพยาบาล และบริการสังคมที่จำเป็น และสิทธิในความมั่นคงในกรณีว่างงาน เจ็บป่วย ทุพพลภาพ เป็นหม้าย วัยชรา หรือการขาดปัจจัยในการเลี้ยงชีพอื่นใดในพฤติการณ์อันเกิดจากที่ตนจะควบคุมได้
2. มารดาและบุตรชอบที่จะได้รับการดูแลและความช่วยเหลือเป็นพิเศษ เด็กทั้งหลายไม่ว่า จะเป็นบุตรในหรือนอกสมรสย่อมได้รับการคุ้มครองทางสังคมเช่นเดียวกัน
ข้อ 26
1. บุคคลมีสิทธิในการศึกษาการศึกษาจะเป็นสิ่งที่ให้เปล่าโดยไม่คิดมูลค่า อย่างน้อยสุดใน ขั้นประถมศึกษาและขั้นพื้นฐาน ขั้นประถมศึกษาให้เป็นการศึกษาภาคบังคับ ขั้นเทคนิค และขั้นประกอบอาชีพเป็นการศึกษาจะต้องจัดมีขึ้นโดยทั่ว ๆ ไป และขั้นสูงเป็นขั้นที่จะเปิดให้ทุกคนเท่ากันตามความสามารถ
2. การศึกษาจะมุ่งไปในทางพัฒนาบุคลิกภาพของมนุษย์อย่างเต็มที่ และเพื่อเสริมพลังการ เคารพต่อสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐานให้แข็งแกร่ง ทั้งจะมุ่งเสริมความเข้าใจ ขันติและมิตรภาพในระหว่างประชาชาติ กลุ่มเชื้อชาติ หรือกลุ่มศาสนา และจะมุ่งขยายกิจกรรมของสหประชาชาติเพื่อธำรงสันติภาพ
3. ผู้ปกครองมีสิทธิก่อนผู้อื่นที่จะเลือกชนิดของการศึกษาสำหรับบุตรหลานของตน
ข้อ 27
1. บุคคลมีสิทธิที่จะเข้าร่วมใช้ชีวิตทางด้านวัฒนธรรมในประชาคมอย่างเสรี ที่จะพึงใจใน ศิลปะและมีส่วนในความคืบหน้าและผลประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์
2. บุคคลมีสิทธิในการรับความคุ้มครองประโยชน์ทางด้านศีลธรรมและทางวัตถุอันเป็นผล ได้จากการประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ วรรณกรรม และศิลปะซึ่งตนเป็นเจ้าของ
ข้อ 28
บุคคลชอบที่จะได้รับประโยชน์จากระเบียบสังคมและระหว่างประเทศอันจะอำนวยให้การใช้สิทธิและเสรีภาพบรรดาที่ได้ระบุในปฏิญญานี้ทำได้อย่างเต็มที่
ข้อ 29
1. บุคคลมีหน้าที่ต่อประชาคมอันเป็นที่เดียวซึ่งบุคลิกภาพของตนจะพัฒนาได้อย่างเสรีและ เต็มความสามารถ
2. ในการใช้สิทธิและเสรีภาพ บุคคลต้องอยู่ภายใต้เพียงเช่นที่จำกัดโดยกำหนดแห่งกฎหมาย เฉพาะ เพื่อความมุ่งประสงค์ให้ได้มาซึ่งการยอมรับและการเคารพโดยชอบสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น และเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดอันยุติธรรมของศีลธรรม ความสงบเรียบร้อยของประชาชาติและสวัสดิการโดยทั่ว ๆ ไปในสังคมประชาธิปไตย
3. สิทธิและอิสรภาพเหล่านี้ มิว่าจะด้วยกรณีใดจะใช้ให้ขัดกับความมุ่งประสงค์และหลักการ ของสหประชาชาติไม่ได้
ข้อ 30
ข้อความต่าง ๆ ตามปฏิญญานี้ไม่เปิดช่องที่จะแปลความได้ว่าให้สิทธิใด ๆ แก่รัฐ กลุ่มชนหรือบุคคลใด ๆ ที่จะประกอบกิจกรรม หรือกระทำการใด ๆ อันมุ่งต่อการทำลายสิทธิและเสรีภาพใด ๆ บรรดาที่ได้ระบุไว้ในบทบัญญัติฉบับนี้
Wednesday, June 22, 2016
เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร? เมื่อ UN เลิกเกรงใจเจ้า ท้วง คสช.เรื่อง 112 ขัดสิทธิมนุษยชน
UN. ข้องใจ 'กม.112' – ซักรบ.ทหารไทย 8 ข้อ
สหประชาชาติกังขากม.หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ส่งจดหมายซักยิบรบ.ไทย มาตรา 112 สอดรับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนไหม ใช้แล้วรักษาความมั่นคงของรัฐอย่างไร ทำไมไม่ให้ประกัน และจะยกเลิก-แก้ไขหรือไม่
ในวันพุธที่ 22 มิถุนายน เฟซบุ๊กของสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ประจำภูมิภาคเอเชีย แจ้งข่าวว่า เมื่อ 27 พฤษภาคม คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯได้เปิดเผยจดหมายที่ส่งถึงรัฐบาลไทย ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559
จดหมายฉบับนี้แนบอยู่ในรายงานของกลไกพิเศษของสหประชาชาติ การเผยแพร่มีขึ้นก่อนหน้าการประชุมสมัยที่ 32 ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (13 มิถุนายน-1 กรกฎาคม)
ในจดหมายซึ่งมีความยาว 17 หน้า ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ ระบุถึงกรณีการบังคับใช้กฎหมายอาญา มาตรา 112 ในการสอบสวน แจ้งข้อกล่าวหา ควบคุมตัว และตัดสินลงโทษประชาชน 26 คน ในจำนวนนี้มีผู้ต้องหา 15 คนถูกไต่สวนในศาลทหาร
จดหมายซึ่งลงนามโดยผู้รายงานพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนในประเด็นต่างๆของยูเอ็น เช่น สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก การชุมนุม การควบคุมตัวตามอำเภอใจ สวัสดิภาพของนักสิทธิมนุษยชน และความเป็นอิสระของผู้พิพากษา ได้ตั้งข้อซักถามให้รัฐบาลไทยตอบข้อสงสัย รวม 8 ข้อ มีใจความโดยสรุปดังนี้
1. ขอข้อมูลเพิ่มเติมหรือความคิดเห็นเกี่ยวกับการตั้งข้อหา และกระบวนการดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของผู้ต้องสงสัยทั้ง 26 คน
2. ขอคำอธิบายว่า คดีเหล่านี้สอดคล้องกับมาตรฐานของนานาชาติในเรื่องสิทธิมนุษยชนตรงไหน เหตุใดจึงไต่สวนเป็นการลับ การปิดห้องพิจารณาคดีเช่นนี้สอดคล้องกับหลักสิทธิในการได้รับการไต่สวนอย่างเป็นธรรมอย่างไร
3. ขอทราบตรรกเหตุผลของการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในการรักษาความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร กฎหมายข้อนี้เกี่ยวข้องอย่างไรกับการรักษาความอยู่รอดของประเทศ หรือการปกป้องดินแดนจากการใช้กำลัง
4. ขอทราบเหตุผลทางกฎหมาย ที่ไม่อนุญาตการประกันตัวของผู้ต้องสงสัย รวมถึงกรณีผู้ป่วยหนัก การไม่ให้ประกันเช่นนี้สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศอย่างไร
5. ขอทราบว่า ผู้ต้องสงสัย 3 คนที่ถูกควบคุมตัวเป็นเวลา 84 วัน จนกระทั่งศาลปล่อยตัวเนื่องจากครบกำหนดเวลาฝากขังนั้น จะได้รับการเยียวยาอย่างไร
6. ขอคำอธิบายว่า คนที่ถูกศาลทหารตัดสินว่ามีความผิดเมื่อคราวประกาศใช้กฎอัยการศึก สามารถอุทธรณ์คดีได้หรือไม่ ในเมื่อกฎอัยการศึกได้ยกเลิกไปแล้ว
7. ตามที่รัฐบาลไทยได้ตอบข้อร้องเรียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2557 ว่า การบังคับใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ไม่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก นั้น ขอคำอธิบายเพิ่มเติม
8. ขอทราบว่า รัฐบาลไทยจะยกเลิกหรือแก้ไขกฎหมายอาญา มาตรา 112 และกฎหมายคอมพิวเตอร์ มาตรา 14 หรือไม่ อย่างไร เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนของนานาชาติ
ในตอนท้าย จดหมายขอให้ส่งสำเนาหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีกลาโหม.
Source: UN OHCHR
File Photo: AFP
เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร? เมื่อ UN เลิกเกรงใจเจ้า ท้วง คสช.เรื่อง 112 ขัดสิทธิมนุษยชน
UN. ข้องใจ 'กม.112' – ซักรบ.ทหารไทย 8 ข้อ
สหประชาชาติกังขากม.หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ส่งจดหมายซักยิบรบ.ไทย มาตรา 112 สอดรับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนไหม ใช้แล้วรักษาความมั่นคงของรัฐอย่างไร ทำไมไม่ให้ประกัน และจะยกเลิก-แก้ไขหรือไม่
ในวันพุธที่ 22 มิถุนายน เฟซบุ๊กของสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ประจำภูมิภาคเอเชีย แจ้งข่าวว่า เมื่อ 27 พฤษภาคม คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯได้เปิดเผยจดหมายที่ส่งถึงรัฐบาลไทย ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559
จดหมายฉบับนี้แนบอยู่ในรายงานของกลไกพิเศษของสหประชาชาติ การเผยแพร่มีขึ้นก่อนหน้าการประชุมสมัยที่ 32 ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (13 มิถุนายน-1 กรกฎาคม)
ในจดหมายซึ่งมีความยาว 17 หน้า ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ ระบุถึงกรณีการบังคับใช้กฎหมายอาญา มาตรา 112 ในการสอบสวน แจ้งข้อกล่าวหา ควบคุมตัว และตัดสินลงโทษประชาชน 26 คน ในจำนวนนี้มีผู้ต้องหา 15 คนถูกไต่สวนในศาลทหาร
จดหมายซึ่งลงนามโดยผู้รายงานพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนในประเด็นต่างๆของยูเอ็น เช่น สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก การชุมนุม การควบคุมตัวตามอำเภอใจ สวัสดิภาพของนักสิทธิมนุษยชน และความเป็นอิสระของผู้พิพากษา ได้ตั้งข้อซักถามให้รัฐบาลไทยตอบข้อสงสัย รวม 8 ข้อ มีใจความโดยสรุปดังนี้
1. ขอข้อมูลเพิ่มเติมหรือความคิดเห็นเกี่ยวกับการตั้งข้อหา และกระบวนการดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของผู้ต้องสงสัยทั้ง 26 คน
2. ขอคำอธิบายว่า คดีเหล่านี้สอดคล้องกับมาตรฐานของนานาชาติในเรื่องสิทธิมนุษยชนตรงไหน เหตุใดจึงไต่สวนเป็นการลับ การปิดห้องพิจารณาคดีเช่นนี้สอดคล้องกับหลักสิทธิในการได้รับการไต่สวนอย่างเป็นธรรมอย่างไร
3. ขอทราบตรรกเหตุผลของการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในการรักษาความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร กฎหมายข้อนี้เกี่ยวข้องอย่างไรกับการรักษาความอยู่รอดของประเทศ หรือการปกป้องดินแดนจากการใช้กำลัง
4. ขอทราบเหตุผลทางกฎหมาย ที่ไม่อนุญาตการประกันตัวของผู้ต้องสงสัย รวมถึงกรณีผู้ป่วยหนัก การไม่ให้ประกันเช่นนี้สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศอย่างไร
5. ขอทราบว่า ผู้ต้องสงสัย 3 คนที่ถูกควบคุมตัวเป็นเวลา 84 วัน จนกระทั่งศาลปล่อยตัวเนื่องจากครบกำหนดเวลาฝากขังนั้น จะได้รับการเยียวยาอย่างไร
6. ขอคำอธิบายว่า คนที่ถูกศาลทหารตัดสินว่ามีความผิดเมื่อคราวประกาศใช้กฎอัยการศึก สามารถอุทธรณ์คดีได้หรือไม่ ในเมื่อกฎอัยการศึกได้ยกเลิกไปแล้ว
7. ตามที่รัฐบาลไทยได้ตอบข้อร้องเรียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2557 ว่า การบังคับใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ไม่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก นั้น ขอคำอธิบายเพิ่มเติม
8. ขอทราบว่า รัฐบาลไทยจะยกเลิกหรือแก้ไขกฎหมายอาญา มาตรา 112 และกฎหมายคอมพิวเตอร์ มาตรา 14 หรือไม่ อย่างไร เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนของนานาชาติ
ในตอนท้าย จดหมายขอให้ส่งสำเนาหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีกลาโหม.
Source: UN OHCHR
File Photo: AFP