สาระสำคัญ

Monday, June 20, 2016

ฆาตกรรมหมู่ใต้ร่มพระบารมี... ความจริงอันน่าเจ็บปวด

ส่วนหนึ่งของการบันทึกประวัติศาสตร์




เครดิต ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์
May 16 · 

การปราบฆ่าประชาชนกลางกรุงเทพฯ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเมื่อ 4 ทศวรรษที่ผ่านมาเท่านั้น
เมื่อพิจารณาภาพรวมการเมืองไทยสมัยใหม่ จากปี 2475 ถึงปัจจุบัน รวม 84 ปี จัดแบ่งรัฐไทยได้เป็น 3 ช่วงแบบด้วยกัน (วิชาการเมืองไทยสมัยใหม่ TP101 Modern Thai Politics)

ช่วงแรก จากปี 2475-2490 สรุปได้ว่า เป็นการต่อสู้ปะทะกันระหว่างฝ่ายทหารและการเมืองของระบอบใหม่กับระบอบเก่า

ช่วงแรกนี้เป็นการต่อสู้ระหว่างระบอบใหม่กับความพยายามยื้อเพื่อรักษาระบอบเก่า กองทัพของสองฝ่ายรบกันด้วยอาวุธ 1 ครั้งในคราวกบฏบวรเดช ตุลาคม 2476 ทหารทั้งสองฝ่ายเสียชีวิต ขณะที่ถัดมานั้น กบฏที่ถูกจับได้ ถูกนำขึ้นศาลพิเศษ มีผู้ถูกพิพากษาประหารชีวิตจริง 1 คนในปี 2478 และประหาร 18 คนในคดีกบฏ 2482

ช่วงที่ 2 ระหว่างปี 2490-2516 ยุค 3 จอมพล คือ จอมพล ป. – จอมพลสฤษดิ์ – จอมพลถนอม
ยุคนี้หากเป็นการกบฏในกองทัพ เช่น กบฏเสนาธิการทหาร กบฏแมนฮัตตัน เห็นได้ว่า ทหารฝ่ายแพ้จะได้รับการปล่อยไป โดยให้ปลดออกจากกองทัพ

แต่ถ้าเป็นกบฏฝ่ายพลเรือน ทั้งฝ่ายปรีดี-คณะราษฎร ฝ่ายเสรีไทยในประเทศ จะถูกตามกำจัดด้วยวิธีการฆ่าทั้งอย่างเปิดเผยและลับด้วยกำลังของรัฐ เช่น นายทวี ตะเวทิกุล ถูกยิงทิ้งในจุดจับได้

การยิงตายในรถขังของตำรวจ กรณี 4 ส.ส. และรัฐมนตรี เมื่อ 4 มีนาคม 2492 ที่ถนนพหลโยธิน กม. 14-15 ใกล้ ม.เกษตร บางเขน ได้แก่ ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ส.ส. อุบลฯ นายถวิล อุดล ส.ส. ร้อยเอ็ด นายจำลอง ดาวเรือง ส.ส. มหาสารคาม ดร.ทองเปลว ชลภูมิ์ อาจารย์ มธก. อดีตเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ส.ส. ปราจีนบุรี

การฆ่ารัดคอและเผานั่งยาง นายเตียง ศิริขันธ์ ขุนพลเสรีไทยภูพาน ส.ส. สกลนคร กับเพื่อน เมื่อ 13 ธันวาคม 2495

การสั่งประหารชีวิตในที่สาธารณะอำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร บ้านเกิดของตนเอง เมื่อ 31 พฤษภาคม 2504 ด้วยอำนาจตามมาตรา 17 ของจอมพลสฤษดิ์ ต่อนายครอง จันดาวงศ์ ส.ส. สกลนคร และเสรีไทยภูพาน และนายทองพันธ์ สุทธิมาศ ครูสกลนคร ผู้สมัคร ส.ส. สอบตก

นายจิตร ภูมิศักดิ์ ขณะอายุ 36 ปี ปัญญาชนปฏิวัติ ที่ถูกยิงตายที่ชายป่าเทือกภูพาน อำเภอวาริชภูมิ สกลนคร เมื่อ 5 พฤษภาคม 2509 เป็นหลักหมายสำคัญว่า รัฐไทยปรับการปราบฆ่าประชาชนลงสู่คนในท้องถิ่น ในนามข้อหาคอมมิวนิสต์ในทุกภาคของประเทศ ทั้งแบบเปิดเผยและแบบลับ

ช่วงที่ 3 คือระยะ 4 ทศวรรษที่ผ่านมา จากปี 2516 ถึงปัจจุบัน รัฐไทยใช้การปราบฆ่าประชาชนจำนวนมากกลางกรุงเทพฯ อย่างเปิดเผย ขณะที่วิธีการลอบฆ่าแบบรายบุคคลในแบบก่อนหน้านั้น ยังคงดำเนินเป็นปกติ

การปราบฆ่าประชาชนจำนวนมากอย่างเปิดเผยกลางกรุงเทพฯ 4 ครั้งในรอบ 4 ทศวรรษหลัง ได้แก่

1) 14 ตุลาคม 2516 กองทัพปราบประชาชนบนถนนราชดำเนิน ตาย 77 คน? บาดเจ็บ 857 คน

2) 6 ตุลาคม 2519 กองกำลังตำรวจตระเวนชายแดนและตำรวจปราบประชาชนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตาย 46 คน? ถูกจับกุมเข้าคุก 3,154 คน ไม่มีการระบุจำนวนผู้บาดเจ็บ โดยกองทัพเข้ายึดอำนาจในวันเดียวกัน

3) พฤษภาคม 2535 กองทัพปราบประชาชนบนถนนราชดำเนิน ตาย 40 คน? บาดเจ็บ 600 คน

4) พฤษภาคม 2553 กองทัพปราบประชาชนที่สี่แยกราชประสงค์และถนนอีกหลายสายกลางกรุงเทพฯ ตาย 94 คน? บาดเจ็บกว่า 2,100 คน

ดังนั้น ความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด คือ ในช่วง 4 ทศวรรษแรก รัฐไทยปราบผู้ต่อต้านทางการเมืองภายในกลุ่มที่จำกัด แต่ในช่วง 4 ทศวรรษหลัง รัฐไทยเผชิญหน้าและปราบฆ่าประชาชนจำนวนมากอย่างเปิดเผยเป็นสำคัญ

ด้วยพัฒนาการดังกล่าว กลุ่มอำนาจในระบบทั้งทหารตำรวจ และกลุ่มอำนาจในท้องถนน จึงพร้อมที่จะใช้ความรุนแรงต่อผู้ที่เห็นต่างหรือด้อยกว่าในทุกระดับของชีวิต เช่นกรณีกลุ่มคนหนุ่มรุมทำร้ายคนพิการถึงแก่ชีวิตกลางกรุงเทพฯ

จากทิศทางดังกล่าว ท่านเชื่อหรือไม่ว่า จะเกิดเหตุการณ์ปราบฆ่าประชาชนอย่างเปิดเผยบนถนนกลางกรุงเทพฯอีกครั้งภายใน 10 ปีข้างหน้านี้ ตามสถิติที่มีมา 4 ครั้งก่อนหน้านี้แล้ว? หรือว่าจะไม่มีความรุนแรงในระดับรัฐไทยกลางกรุงเทพฯ อีกต่อไป?

ที่มาเบื้องต้น: 
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. ประวัติการเมืองไทย 2475-2500. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการ
ตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2551.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์. บรรณาธิการ. จาก 14 ถึง 6 ตุลา. พิมพ์ครั้งที่ 3. 
กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2544.

ความจริงเพื่อความยุติธรรม: เหตุการณ์และผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา – พฤษภา 53. 
กรุงเทพฯ: ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณี เม.ย. – พ.ค. 53, 2555.

ครูครอง จันดาวงษ์. ไม่ระบุที่พิมพ์. 2543.

เครก เจ. เรย์โนลด์ส. (Craig J. Reynolds). เจ้าสัว ขุนศึก ศักดินา ปัญญาชน และคนสามัญ. 
บรรณาธิการแปล วารุณี โอสถารมย์. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2550.

Believe it or not?
บันทึกไว้ Tue.อ. 17 May.พฤษภา 2016/2557 ชั่วโมงที่ 18 ของวันที่ lllll lllll lllll lllll lllll lllll lllll lllll lllll lllll lllll lllll l/61 220714 Cllll lllll70/Rubber Stamp C lllll lllll lllll lll/l 89Fisc l ll/l 93TyPM l/l 95TyPMS lllll l 101 MiliDictGov. /llll lllll lllll lllll lllll lllll lllll l/l6Oct.38Ys lll llll/l14Oct.41Ys lllll/150 lllll lllll lllll lllll lllll lllll/180 lllll lllll lllll lllll lllll lllll lllll lllll lll/223 31Dec l/2015 l lllll lllll lllll lllll l/23JanYing lll/Daniel Russel 26Jan l lllll255 lllll lllll lllll270 lllll lllll lllll lllll lllll lllll/300 lllll lllll lllll lllll/320 lllll lllll lllll lllll lllll lllll/350 lllll lllll lllll/365 lllll lllll lllll lllll lllll/390 lllll lllll lllll lllll lllll lllll lllll lllll lllll lllll lllll lllll/450 lllll lllll lllll lllll lllll lllll/480 lllll lllll lllll lllll/500 lllll lllll lllll lllll lllll lllll lllll lllll lllll lllll/550 lllll lllll lllll lllll lllll lllll lllll lllll lllll lllll/600 lllll lllll lllll lllll lllll lllll lllll lllll lllll lllll lllll lllll lllll lllll lllll lllll lllll lllll lllll lllll/700 lllll lllll lllll lllll lllll ของ ค-ม-ร-ส-ช.

ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์'s photo.
LikeShow more reactions
CommentShare