สาระสำคัญ

Sunday, January 3, 2016

วิเคราะห์การต่อสู้ภาคประชาชน

วิเคราะห์การต่อสู้ภาคประชาชน

จุดแข็ง
1. ประชาชนต้องการประชาธิปไตยหลายสิบล้านคน เฉพาะที่เห็นศัตรูตัวจริง เกลียดชังและต้องการโค่นล้มเผด็จการก็มีหลายล้านคน
2. นักต่อสู้แบ่งบทบาทกันทำได้ดี เช่น ที่อยู่ต่างประเทศเน้นเปิดโปงศัตรูตัวจริง ภายในประเทศให้การศึกษา จัดตั้ง ชี้นำและสรุปบทเรียนในการต่อสู้ 
3. ใช้สื่อ Social ให้เป็นประโยชน์ได้ดี ทั้งในการให้การศึกษาทางการเมือง นำเสนอแนวคิดใหม่ ๆ เปิดโปงศัตรู ต่อต้านการข่าว ปลุกเร้า สร้างขวัญกำลังใจ ฯลฯ ด้วยรูปแบบใหม่ ๆ ที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย 
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรวมตัวกันของนักรบไซเบอร์เข้าโจมตีเวปไซต์ที่สำคัญ ๆ ของรัฐบาลเผด็จการพระราชาจนล่มไม่เป็นท่า เป็นการรบในเขตยุทธศาสตร์ใหม่ที่ได้ผลมาก
4. เกิดการต่อสู้ด้วยรูปแบบใหม่ ๆ โดยกลุ่มเยาวชนคนหนุ่มสาว เช่น การปรากฏตัวขึ้นของกลุ่มขบวนการ นศ. ในหลาย ๆ กรณี 
5. นักต่อสู้บางส่วนมีบทเรียนในการจัดตั้งและต่อสู้กับเผด็จการทหารมายาวนาน

จุดอ่อน
1. ฝ่ายประชาชนอ่อนแอเพราะไม่เห็นความสำคัญของการจัดตั้ง
จัดตั้งไม่เป็น หรือไม่มีเงื่อนไข
2. ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีภาระส่วนตัวที่ต้องรับผิดชอบ ไม่สามารถเข้าร่วมการต่อสู้ได้เต็มที่  
3. ประชาชนที่พร้อมทางการเมืองแล้ว ส่วนใหญ่ยังไม่พร้อมทางความคิด ไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไรจึงจะได้ผล อีกทั้งยังถูกครอบงำด้วยความเชื่อที่งมงาย และเกือบทั้งหมดยังไม่พร้อมทางการจัดตั้ง ไม่รู้ว่าการจัดตั้งเป็นอย่างไร กลัวไว้ก่อน บ้างก็กลัวว่าจะถูกบังคับ หรือไม่ก็กลัวว่าถ้าถูกจับได้จะถูกศัตรูทำร้ายอย่างรุนแรง
4. การจัดตั้งที่มีอยู่ยังหละหลวม เปิดโอกาสให้สายลับของศัตรูแฝงเข้ามาได้ง่าย (แทรกตัวเข้ามาหาข้อมูล ความลับ การเคลื่อนไหว ชี้เป้า หรือคอยสร้างความแตกแยก โดยเฉพาะการชูความคิดซ้ายจัด ขาดแนวทางมวลชนจนมวลชนรับไม่ได้ ค่อย ๆ ถอยห่างออกไป บ้างก็เสนอแนวความคิดที่ยังไม่เหมาะสมกับระดับการเคลื่อนไหวต่อสู้ในปัจจุบัน บ้างก็คอยเสนอให้เลือกข้างศัตรูฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และบ้างก็ฉวยโอกาสเชิดชูศัตรูตัวรองอย่างเปิดเผย)
5. บางส่วนยังอ่อนหัด ขาดบทเรียนและประสบการณ์ในการต่อสู้กับพวกเผด็จการทหารพระราชา จึงต่อสู้อย่างสะเปะสะปะ ไร้ทิศทาง ไม่รู้จักการใช้ "กฎงานลับ" เพื่ออำพรางตัวเองและองค์กรให้ปลอดภัยจากการจ้องทำลายล้างของพวกเผด็จการทหารพระราชา 
6. ขาดหลักเกณฑ์ในการคิดและวิเคราะห์ ไม่เชื่อมั่นในพลังประชาชน ไม่คิดว่าประชาชนมีสมอง มีความสามารถในการกำหนดอนาคตของตนเอง แต่กลับฝากความหวังไว้กับผู้นำบางคนหรือองค์กรทางการเมืองที่เคยมีบทบาทเท่านั้น บ้างก็ฝากความหวังไว้กับศัตรู เพ้อฝันอยากให้ศัตรูฝ่ายหนึ่งยกกำลังเข้าห้ำหั่นอีกฝ่าย แม้กระทั่งเสนอว่า ฝ่ายไหนชนะเราก็เอาด้วยทั้งนั้น หรืออาจจะเลือกข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยไม่แยกแยะว่าพวกนั้นเป็นฝ่ายศัตรูของประชาชนหรือไม่ อีกด้านหนึ่ง ก็ถลำไปหลงกลลวงให้ใช้ความรุนแรงนำ ทำให้ล้ำหน้ากว่าสถานการณ์และถูกทำลายไปอย่างน่าเสียดาย
7. บางส่วนยังยึดมั่นในความคิดเดิม ๆ  ทำให้หวาดระแวง ตั้งข้อรังเกียจ กระทั่งปิดกั้น ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง  แทนที่จะแสวงหาความร่วมมือสามัคคีกับกลุ่มพลังต่าง ๆ ให้มากที่สุดเพื่อต่อสู้กับศัตรูที่เข้มแข็งกว่าในปัจจุบัน
8. ขาดองค์กรนำในการต่อสู้ครั้งใหม่ ในรูปขององค์กรแนวร่วม ที่นำโดยตัวแทนจากกลุ่มพลังฝ่ายประชาธิปไตยต่าง ๆ
9. พท.และ นปช. จำกัดกรอบการต่อสู้แค่แบบเปิดเผยและรอคอยโอกาสจนเสมือนยุติบทบาทไปโดยปริยาย
10. ขาดการสนับสนุนส่งเสริมซึ่งกันและกัน 
11. บางส่วนมีความคิดแบบ "วีรชนเอกชน" หลงตัวเองว่าสิ่งที่ตัวเองคิดนั้น ถูกต้อง ไร้ที่ติ ยึดมั่นถือมั่น ไม่ยอมฟังใคร แทนที่จะระดมสมอง ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ร่วมกันสรุปบทเรียน ทำให้แม้จะมีผลงาน แต่สิ่งที่นำเสนอออกมานั้น บางครั้งกลับสร้างความสับสนแทนที่จะสร้างเอกภาพทางความคิด
12. กองหน้าของการต่อสู้ยังต้องแก้ปัญหาภายในและปรับขบวนให้พร้อมสู้รบปรบมือในด้านต่าง ๆ
13. ขาดการเชื่อมประสานที่ดีและมีรูปการระหว่างองค์กรต่าง ๆ ยังมิได้เล่นเป็นทีม ส่วนเปิดและส่วนปิดต่างฝ่ายต่างทำ
14. ขาดเอกภาพทางความคิด การจัดตั้ง นโยบาย จังหวะก้าว และการชี้นำทางการเมือง ทำให้มีความขัดแย้ง เห็นต่างในการวิเคราะห์ จึงกำหนดท่าทีทางการเมืองและการชี้นำแตกต่างกัน สร้างความสับสนต่อมวลชน
15. ขาดเงินทุนสนับสนุนในการเคลื่อนไหว
16. นักต่อสู้จำนวนมากต้องหลบลงสู้แบบปิดลับใต้ดิน ซึ่งไม่ถนัด ไม่คุ้นเคย ต้องปรับตัวอีกระยะหนึ่ง และบางส่วนปรับตัวไม่ได้ ต้องยอมกลับมาเป็นฝุ่นใต้เท้าโดยดุษฎี 
17. นักต่อสู้จำนวนมากยังกระจัดกระจาย ลดหรือจำกัดบทบาทลง บ้างก็เปลี่ยนเวทีไปสนใจด้านสุขภาพ สังคมสงเคราะห์ ศาสนา สัตว์เลี้ยง กระทั่งหยุดไปเฉย ๆ ส่วนที่ยังคิดต่อสู้ก็ไม่มีรูปการจัดตั้งอย่างแท้จริง  ที่สำคัญยังขาด "ภาวะผู้นำ" ที่จะลุกขึ้นมาจัดตั้งกันเองให้เป็นกลุ่มก้อนเพื่อเชื่อมร้อยกันให้ทั่วถึงต่อไป
18. ขบวนการกรรมกรอ่อนแอ แตกแยก และยังมีบทบาทน้อยมากในเวทีการเมือง
19. ชาวลัทธิมาร์กซยังไม่สามารถแสดงบทบาทเป็นกองหน้าของการต่อสู้

โอกาส
1. "ทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐ" สุขภาพเสื่อมทรุดรอวันตาย
2. พี่ชายกับน้องสาว และพวกสมุนรับใช้ ขัดแย้งกันจริง 
3. นายกปัญญาอ่อน นอกจากไม่สามารถแก้ปัญหาของประเทศและประชาชนแล้ว กลับยังสร้างปัญหาเพิ่มขึ้น หรือไม่ก็ทับถมให้ปัญหาต่าง ๆ รุนแรงขึ้น สร้างความไม่พอใจ ชิงชัง รังเกียจ และเคียดแค้นไปทั่ว
4. ทหารแตกแยกกันเอง ทำให้ขาดเอกภาพในการกดขี่ปราบปรามประชาชน
5. การร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นเผด็จการขนานแท้ และการยืดอายุไม่ยอมกำหนดเวลาที่จะลงจากอำนาจ  ทำให้รัฐบาลเผด็จการพระราชาถูกต่อต้านไปทั่วโลก และประชาชนบางส่วนเริ่มหมดหวังกับ "ระบอบประชาธิปไตยจอมปลอมแบบไทย ๆ "  การต่อสู้ในแนวรบที่ไม่เปิดเผยจะได้รับการยอมรับสนับสนุนกว้างขวางและขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว
6. นโยบายรัฐ ขัดแย้งหรือกระทบกับประชาชนวงกว้าง เช่น จะยกเลิก 30 บาทรักษาทุกโรค 
7. เผด็จการทหารโกงกินกันให้จับได้แบบมีใบเสร็จ เช่น โครงการราชภักดิ์ที่หัวหิน
8. อำนาจรัฐใช้กฎหมายเพื่อพวกพ้องอย่างชัดเจน 
9. คำตัดสินของศาลไม่ได้รับการยอมรับ
10. ประเทศตะวันตกนำโดยยุโรปและอเมริกาคัดค้านการปกครองแบบเผด็จการทหาร ตั้งเงื่อนไขในความร่วมมือเจรจา   ลดระดับความสัมพันธ์ทางการทหาร กดดันทางการค้า
11. ประเทศอาเซียนส่วนใหญ่ไม่สนับสนุนเผด็จการทหาร บางส่วนต่อต้านอย่างลับ ๆ
12. ประชาชนในประเทศอาเซียนเองก็เริ่มแสดงความไม่พอใจอย่างเปิดเผย ดังเช่นกรณีชุมนุมใหญ่ในเมียนมาร์เรียกร้องให้รัฐบาลกลุ่มเผด็จการทหารพระราชาเปลี่ยนคำตัดสินลงโทษชาวเมียนมาร์ที่เกาะเต่า ซึ่งเป็นอีกแรงหนึ่งที่ถาโถมเข้าใส่

อุปสรรค
1. จีนมีท่าทีคบกับผู้กุมอำนาจรัฐไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใด
2. ชนชั้นปกครองมีบทเรียนในการควบคุมประชาชน และไม่เคยรามือต่อประชาชน
3. ชนชั้นกลางโลเล ขาดหลักคิดและจุดยืนทางการเมืองที่มั่นคงและชัดเจน ส่วนใหญ่ยังหลงงมงายกับความเชื่อที่ผิด ๆ และที่ถูกครอบงำโดยชนชั้นปกครอง
4. "ทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐ" มีการจัดตั้งระดับต่าง ๆ อย่างเข้มแข็ง และกระจายไปตามวงการต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง
5. "ทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐ" ครอบงำทางความคิดมานานจนหยั่งรากฝังลึกในหมู่มวลชน
6. "ทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐ" ควบคุมอำนาจรัฐและกลไกอำนาจรัฐต่าง ๆ ไว้อย่างแน่นหนา

หลักการนำไปใช้ประโยชน์
1. นำจุดแข็งไปรวมกับโอกาสต่าง ๆ เพื่อหาช่องทางการต่อสู้ที่เป็นประโยชน์ต่อไป 
2. นำจุดอ่อนมาพิจารณาว่าจะแก้ไขให้หมดไปหรือลดลงได้อย่างไร
3. ใช้โอกาสที่มีให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ แต่ถ้ายังไม่มีหรือยังไม่เกิดขึ้น ก็หาวิธีการไปสร้างโอกาสต่าง ๆ ขึ้นมา
4. หาทางป้องกันหรือลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากอุปสรรคต่าง ๆ บางครั้งอาจใช้จุดแข็งให้เป็นประโยชน์เพื่อการนี้
5.

สรุปบทเรียนท่ามกลางการต่อสู้

1 ศัตรู สมุนรับใช้ และกลุ่มนายทหารใหญ่ 
1.1 ในหมู่พวกเขาล้วนมีความขัดแย้งภายในกันอย่างมาก มีความแตกแยกซึ่งกันและกัน และมีจุดอ่อนอยู่มากมาย
1.2  ศัตรูคือเสือกระดาษ พวกเขาหวาดกลัวประชาชน เพียงแค่ประชาชนขยับตัวเล็กน้อยพวกเขาก็หวาดผวาและรีบลนลานออกมาขัดขวาง แต่ก็ทำได้แค่หยุดการเคลื่อนไหวเฉพาะหน้า ซึ่งก็ต้องแลกกับการประณามต่อต้านไปทั่วโลก
1.3 นับวัน "ทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐ" ถูกเปิดโปงและบั่นทอนภาพลักษณ์ เกิดความคลางแคลงใจ
1.4 รัฐบาลโดดเดี่ยวในเวทีสากล
1.5 การปรองดองเป็นเพียงวาทกรรมหลอกลวงที่แม้แต่มวลชนของพวกเขาเองก็ไม่ได้สนใจ ความคิดที่แตกต่างกัน 2 ขั้วอย่างชัดเจนของมวลชนมิอาจสามัคคีปรองดองกันได้ ตราบใดที่ความขัดแย้งหลักยังแก้ไม่ได้
1.6 การหันมาใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ เป็นการสะท้อนว่าไปไม่เป็น ไปไม่ถูกแล้ว

2 ประชาชนทุกชนชั้น
2.1 การต่อสู้ของประชาชนยังมีจุดอ่อนอยู่มาก  จุดแข็งยังน้อย  แม้ว่าจะมีโอกาสมากมาย และมีอุปสรรคไม่มากนักก็ตาม
แต่เราก็ยังไม่สามารถใช้โอกาสที่มีอยู่อย่างเต็มที่ เป็นเหตุให้การต่อสู้ในภาพรวมยังไม่เข้มแข็งพอที่จะโค่นล้มระบอบเผด็จการราชาธิปไตยลงได้ในเร็ววัน
2.2 การจัดตั้งประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มคนที่ตาสว่างแล้ว เป็นภารกิจเร่งด่วน และเป็นปัจจัยชี้ขาดชัยชนะ  ต้องให้ความสนใจมุ่งมั่นทุ่มเทอย่างเต็มที่ สร้างเครื่องมือ โอกาส และแลกเปลี่ยนบทเรียนกันอย่างสม่ำเสมอ หากทำได้เร็ว มีคุณภาพ และจำนวนมากพอ จะแปรจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็งทันที

3 แนวทางมาร์กซิสต์
3.1 ได้รับการยอมรับอย่างสูงในการให้การศึกษามวลชนวงกว้าง 
3.2 ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม แม้ว่าวิทยากรบางท่านจะไม่ได้บอกตรง ๆ แต่ที่ผ่านมาก็ได้นำหลักลัทธิมาร์กซไปอธิบายความขัดแย้งและเรื่องราวต่าง ๆ อยู่แล้ว อีกทั้งมวลชนก็ยอมรับ เพราะเป็นแนวคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ 
3.3 วิทยากรควรรับฟังความคิดเห็นจากมิตรสหาย น้อมใจศึกษา เสริมทฤษฎีเพิ่มเติม เพื่อจะได้นำหลักการลัทธิมาร์กที่แท้จริงไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ยิ่งขึ้น  จะลดความสับสนในหมู่มวลชน สร้างเอกภาพทางความคิดและผลักดันให้การปฏิวัติยกระดับก้าวรุดหน้าต่อไป
3.4 ควรติดอาวุธทางความคิดด้วยแนวคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ให้มวลชนโดยเฉพาะวิทยากรต่าง ๆ เพื่อใช้ในการให้การศึกษามวลชนอย่างเป็นเอกภาพและมีพลัง

ท่าทีของเรา
1 สามัคคี ส่งเสริม สนับสนุน และร่วมมือกับกลุ่มพลังประชาธิปไตยทั้งภายในและต่างประเทศ
2 ผลักดันให้เร่งสร้างองค์กรแนวร่วมเพื่อนำพาการต่อสู้ครั้งใหม่ให้เป็นเอกภาพ
3 ช่วงชิงความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจในภูมิภาคนี้มาใช้ให้เป็นประโยชน์
4 จัดตั้ง ให้การศึกษา ยกระดับ มวลชนทั่วทุกภาคให้เข้มแข็งมีพลัง
5 นำพามวลชนเข้าต่อสู้ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพการณ์รูปธรรมต่าง ๆ

องค์การเพื่อประชาธิปไตยไทย (อปท.)
1 มกราคม 2559